กรุวัดปากบาง
หลวงปู่ทรัพย์ อดีตเจ้าอาวาสรูปแรก ท่านเป็นชาวอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ธุดงค์เดินทางรอนแรมมาปักกลดอยู่ที่ตำบลท่าตอ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ซึ่งท่านมาสร้างวัดใหม่ปากบางสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2394 แต่ก่อนนั้นเป็นเพียงสำนักสงฆ์เล็กๆ มีท่านกับพระอีกรูปหนึ่งจำวัดที่นั่น ซึ่งสันนิษฐานว่า เป็นเจ้าประคุณสมเด็จฯพระพุฒาจารย์โต วัดระฆังฯ นั่นเอง

ลำดับเจ้าอาวาสมีดังนี้
1. หลวงปู่ทรัพย์
2. หลวงปู่เฮง
3. หลวงปู่ฮี้
4. พระครูสถิตธรรมโสภิษ
5. พระอธิการคำ ฐิตาจาโร
6. พระครูสมุห์เชวง ทินนปาโร
ตามประวัติว่ามีพระเครื่องแตกกรุจากพระเจดีย์ ช่วงสงครามโลก ประมาณปี2485 และมีการลักลอบขุดกรุกันเรื่อยๆ จนทางวัดได้เปิดกรุพระเครื่องอย่างเป็นทางการเมื่อประมาณปี 2495 เพื่อให้ชาวบ้านทำบุญสร้าง และ บูรณะวัด ชาวบ้านต่างศรัทธาพระกรุนี้กันมาก เนื่องจากมีความเชื่อว่าสมเด็จฯโต ท่านมีส่วนร่วมมอบผงเก่า และ ร่วมปลุกเสกด้วย ว่ากันว่า แม้แต่พระเกจิที่มีชื่อเสียงในละแวกอยุธยา อ่างทอง หลายๆ ท่านยังมีพระผงวัดปากบางติดย่ามบูชากัน โดยพุทธคุณเน้นด้านเมตตามหานิยม และ แคล้วคลาดเป็นเยี่ยม
พระกรุวัดปากบาง มีพิมพ์ที่พบทั่วไปดังนี้
1.พิมพ์เล็บมือฐานสามชั้น
2.พิมพ์นางพญากลีบบัวอกนูน
3.พิมพ์ยืนประทานพร
ซึ่งเนื้อหามวลสารผงเก่า เม็ดแร่กรวดเสกเป็นส่วนผสม บางองค์แก่ผง บางองค์แร่เยอะบางองค์ที่ก้นกรุก็มีคราบกรุฟองเต้าหู้หนา (คล้ายกรุวัดเงินคลองเตย) บางองค์ผิวสะอาด แต่ก็ยังมีคราบกรุบางๆให้เห็น