กรุโรงเหล้าและกรุวัดจักรวรรดิ

พระขุนแผนกรุโรงเหล้า และกรุวัดจักรวรรดิ แตกต่างจาก พระขุนแผนกรุวัดใหญ่ ตรงที่พระขุนแผนทั้งสองกรุนั้นไม่เคลือบน้ำเคลือบเหมือน พระขุนแผนกรุวัดใหญ่ แต่มีพิมพ์ที่เหมือนกัน คือ พิมพ์อกใหญ่ และพิมพ์แขนอ่อน

 พระขุนแผนกรุโรงเหล้า

กรุโรงเหล้า เป็นชื่อกรุที่อยู่ในอาณาบริเวณวัดสมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าจะเป็นที่ตั้งของ 3วัด ในสมัยอยุธยาด้วยกันคือ

1.วัดจีน (ไม่ใช่วัดรัตนชัยหรือวัดจีนในปัจจุบันนี้)

2.วัดโรงม้า

3.วัดเจ็ก

ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในชุมชนชาวจีนในอดีต ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวัดไหน ก็คือวัดของชุมชนชาวจีนทั้งสิ้น ซึ่งหากพิจารณาถึงพิมพ์

พระขุนแผนกรุโรงเหล้าที่ไม่เคลือบ กับพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล แล้ว จะเห็นว่า พิมพ์พระเป็นศิลปะพู่กันจีน ซึ่งมีเส้นพริ้วไหวหนักเบาสวยงาม ซึ่งเชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังมีชัยต่อพระมหาอุปราชของพม่าที่ได้ทำยุทธหัตถี ณ ดอนเจดีย์ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

พระขุนแผนไม่เคลือบนี้ มีการพบด้วยกัน 2กรุ คือ

1.กรุโรงเหล้า เชื่อว่าเป็นสถานที่สร้างพระพิมพ์นี้ โดยชุมชนชาวจีน เนื่องจากมีการบอกกล่าวไว้ว่า บริเวณนี้เคยพบเตาเผาโบราณตั้งอยู่ในพื้นที่นี้ และก็ยังพบวัดโบราณในพื้นที่นี้คือ วัดบรมพุทธาราม ซึ่งหลังคาพระอุโบสถจะสร้างขึ้นด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งหลัง

 

2.กรุวัดจักรวรรดิ (วัดเจ้ามอญ) ตั้งอยู่ที่ ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งวัดแห่งนี้อยู่นอกเกาะเมืองอยุธยา และรกร้างตั้งแต่สิ้นกรุงศรีอยุธยา จนกรมศิลปกรได้เข้ามาขุดค้น ขุดแต่งทางโบราณคดี ใน พ.ศ. 2542-2544 ซึ่งในการดำเนินการครั้งนี้ ก็ได้พบกับโบราณวัตถุมากมายตั้งแต่ สมัยอยุธยาตอนต้น ถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย และที่สำคัญก็ได้พบกับพระขุนแผนไม่เคลือบที่มีลักษณะเหมือนกับ กรุโรงเหล้าด้วย แต่เนื้อหาจะแกร่งกว่าพอสมควร ซึ่งพระขุนแผนที่พบนี้มีจำนวนไม่มากนักและก็กดพิมพ์ได้ไม่ชัดเท่าที่ควร แต่ก็ถูกเซียนพระกว้านซื้อไปจนหมด จึงทำให้พบเห็นได้ยากพอๆ กับกรุโรงเหล้า

มีการศึกษาและสันนิษฐานถึงกรรมวิธีสร้างพระพิมพ์ขุนแผนนี้ ว่าส่วนผสมของเนื้อดินแล้วเผาออกมาใกล้เคียงกับพระขุนแผนทั้งสองกรุนี้ ประกอบไปด้วย ดินขาว ดินดำ และดินเหลือง ดินประเภทนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 แห่ง คือ ดินจาก ต.โคกไม้ลาย จ.ปราจีนบุรี จ.จันทบุรี และ จ.ลำปาง เท่านั้น

ข้อสัญนิษฐานต่อมาว่าทำไม พระขุนแผนกรุโรงเหล้า และกรุวัดจักรวรรดิ ทำไมถึงไม่เคลือบน้ำเคลือบเหมือน กรุวัดใหญ่ชัยมงคล ซึ่งมีข้อสันนิษฐานว่าอาจเป็นพระลองพิมพ์ ซึ่งทดลองพิมพ์ก่อนก็เป็นได้ ซึ่งจะพบว่าทั้งสองกรุความคมชัดไม่เท่า กรุวัดใหญ่ชัยมงคล หลังจากลองพิมพ์แล้วในยุคนั้นจะไม่ทำลายพระทิ้ง จึงนำมาเผาแล้วทำพิธีบรรจุไว้ภายในกรุต่อไป ซึ่งจำนวนก็ไม่มากมายนัก

สำหรับพุทธคุณ พระขุนแผนกรุนี้ มีการเล่าลือจากเซียนพระรุ่นเก่าว่า มีพุทธคุณทางด้านเมตตามหาเสน่ห์เป็นที่ 1 จนมีเรื่องเล่าขานสนุกสนานกันในกลุ่มเซียนพระรุ่นเก่าว่า สมัยก่อนมีเซียนพระเพื่อนกันอยู่สามคนชอบพอผู้หญิงคนเดียวกัน หมั่นตามจีบอยู่ทุกวี่ทุกวัน คนแรกนั้นห้อย พระขุนแผนเคลือบกรุวัดใหญ่ คนที่สองห้อยพระขุนแผนกรุบ้านกร่าง คนที่สามห้อยพระกรุโรงเหล้า ผลสุดท้ายผู้ที่ห้อยพระขุนแผนกรุโรงเหล้าก็พิชิตใจเธอมาได้ 

สรุปได้ว่า พระขุนแผนไม่เคลือบกรุโรงเหล้า และกรุวัดจักรวรรดิ นั้นเป็นพระเครื่องที่มีอายุหลายร้อยปี สร้างในพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต และก็มีกรรมวิธีที่ซับซ้อน พิถีพิถัน มีความสวยงาม อ่อนช้อย ในพุทธศิลป์ อย่างลงตัว และยังเป็นพระในตำนานที่หาชมได้ยากยิ่ง

ประวัติ

พระขุนแผนกรุโรงเหล้า เป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านยา สันนิษฐานว่ามีอายุการสร้างประมาณ 400-500 ปี เป็นพระที่แตกกรุออกมาครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2485 โดยพบที่วัดสิงห์ลาย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขณะกำลังก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติม

พระขุนแผนกรุโรงเหล้า มีพิมพ์ทรงเดียว คือ พิมพ์อกใหญ่ เป็นรูปพระขุนแผนประทับนั่งปางมารวิชัย ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว หน้าตักกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร สูงประมาณ 3 เซนติเมตร ด้านหลังเรียบ

พุทธคุณ

พระขุนแผนกรุโรงเหล้า เป็นพระที่ขึ้นชื่อเรื่องพุทธคุณ โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยม และโชคลาภ เล่ากันว่าสมัยก่อนมีทหารคนหนึ่งพกพาพระขุนแผนกรุโรงเหล้าติดตัวไปด้วย เมื่อถูกยิงเข้าที่อก แต่เนื่องจากพระขุนแผนกรุโรงเหล้าคุ้มครองไว้ จึงรอดชีวิตมาได้ จึงเป็นที่มาของความเชื่อที่ว่า พระขุนแผนกรุโรงเหล้า เด่นมากทางด้านเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี

ความนิยม

พระขุนแผนกรุโรงเหล้า เป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงในหมู่นักสะสมพระเครื่อง เนื่องจากเป็นพระที่หายากและมีพุทธคุณสูง ปัจจุบันราคาซื้อขายอยู่ที่หลักแสนถึงหลักล้านบาท ขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ของพระ

การแยกพิมพ์

พระขุนแผนกรุโรงเหล้า แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์หลัก คือ

  • พิมพ์อกใหญ่ : องค์พระมีขนาดใหญ่กว่าพิมพ์อกเล็ก หน้าตักกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร สูงประมาณ 3 เซนติเมตร
  • พิมพ์อกเล็ก : องค์พระมีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อกใหญ่ หน้าตักกว้างประมาณ 1.7 เซนติเมตร สูงประมาณ 2.5 เซนติเมตร

นอกจากนี้ ยังมีพิมพ์อื่นๆ อีก เช่น พิมพ์แขนอ่อน พิมพ์แขนอ่อนเอวบาง เป็นต้น