หลวงพ่อรวยวัดตะโก

หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก เป็นหนึ่งพระเกจิอาจารย์แห่งกรุงเก่าเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ เมืองร่องรอยประวัติศาสตร์การต่อสู้อันยิ่งใหญ่ อุดมไปด้วยพระเกจิอาจารย์นับตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่กล่าวขานศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป

หลวงพ่อรวยวัดตะโก

หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก หรือในสมณศักดิ์พระราชทินนามที่ พระครูสุนทรธรรมนิวิฐ เจ้า อาวาสวัดตะโก ต.ดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระเกจิอยุธยาชั้นแนวหน้าในยุคนี้ ที่งดงามด้วยปฏิปทาศีลวัตรสัจคุณ ดำรงสมณเพศอย่างสมถะ เป็นพระนักปฏิบัติมากว่าที่จะเป็นพระธรรมกถึกทั้งเป็นพระนักพัฒนาทำความ เจริญรุ่งเรืองมาสู่วัดตะโก ท่านได้สืบทอดพุทธาคมมาจาก หลวงพ่อชื่น วัดภาชี ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งสืบทอดวิชาพุทธาคมมาจากหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ผู้เป็นพระบุรพาจารย์ที่โด่งดังเลื่องลือกิติศัพท์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งสืบสายพุทธาคมโดยตรงจากหลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ ที่เชี่ยวชาญวิชาอาคมโดดเด่นในด้านเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรีเป็นหนึ่ง อีกด้วย

 

กิติคุณชีวประวัติ ชาติภูมิ

หลวงพ่อรวย ถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ.2464 เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวนพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 8 คน (ชาย 3 หญิง 5) ของคุณโยมบิดา มี โยมมารดา สินลา ศรฤทธิ์ (บรรพบุรุษของสกุลศรฤทธิ์นี้ เป็นเชื้อสายชาวกรุงศรีสัตนาคนหุต) ณ บ้านตะโก หมู่ที่ 2 ต.ดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา

ปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น

ชีวิตในปฐมวัยมีความเป็นอยู่เหมือนๆ กับเด็กในชนบททั่วไป คือได้ช่วยเหลือพ่อแม่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรอันถือได้ว่าเป็นเมืองอู่ข้าว อู่น้ำมาแต่บรรพชน ทั้งช่วยเหลือเลี้ยงดูเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย มาโดยตลอด

ส่วนการศึกษาเมื่ออายุได้ 12 ปี ได้เข้ารับการศึกษาเบื้องต้นในโรงเรียนวัดตะโก เพราะเด็กๆ ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนประถมศึกษาของทางราชการในละแวกตำบลดอนหญ้านาง ต้องอาศัยพระสงฆ์เป็นครูสอนบนศาลาการเปรียญของวัด จนมีความรู้อ่านออกเขียนได้ มีความรู้เทียบได้ชั้นประถมปีที่ 4 ก็ออกจากโรงเรียน

สู่เพศพรหมจรรย์

เมื่ออายุ 16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดตะโกโดยมีพระสมุห์บุญช่วย เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชฌาย์ ในที่ครองเพศพรหมจรรย์ ท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยในด้านพระคันถธุระ (พระปริยัติธรรม) สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี

อายุครบบวช ราว พ.ศ.2484 ก็อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดตะโก โดยมีพระครูสุนทรธรรมนิวิฐ (หลวงพ่อชื่น) เจ้าอาวาสวัดภาชี เจ้าคณะอำเภอภาชีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดจ้อย เจ้าอาวาสวัดวิมลสุนทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์บุญช่วย เจ้าอาวาสวัดตะโก(ในสมัยนั้น) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับสมณฉายาว่า “ปาสาทิโก”” ครั้นอุปสมบทแล้ว อยู่จำพรรษาที่วัดตะโกเรื่อยมาได้ศึกษาด้านคันถธุระพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม จนสอบได้นักธรรมชั้นโท ใน พ.ศ.2485 และสอบได้นักธรรมชั้นเอกใน พ.ศ.2487

สืบทอดพุทธาคม

หลังจากจบนักธรรมเอกแล้ว ท่านคิดว่าเพียงพอสำหรับด้านคันถธุระแล้ว เพราะพระที่อยู่ตามชนบทบ้านนอกพอที่จะรักษาพระธรรมวินัยเพศพรหมจรรย์ให้ รุ่งเรืองและเป็นนำสอนชาวบ้านบ้านได้แล้ว ท่านก็หันมาสนใจทางด้านวิปัสสนาธุระโดยมองเห็นประโยชน์ในด้านการปฏิบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ออกเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาเรียนพระกรรมฐานกับครู บาอาจารย์เก่งๆ ในยุคนั้น อาทิเช่น

1.หลวงพ่อชื่น วัดภาชี อยุธยา เชี่ยวชาญด้านวิปัสนากรรมฐานที่สืบทอดพุทธาคมมาจากหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ เป็นที่รู้จักกันดีในยุคนั้นซึ่งมีศิษย์ที่ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อกลั่นมากมาย อาทิเช่น หลวงพ่อใหญ่ หลวงพ่ออั้น หลวงพ่อเภา หลวงพ่อศรี หลวงปู่ดู่ และหลวงพ่อชื่น ศิษย์หลวงพ่อกลั่นที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้ปัจจุบันได้มรณะภาพไปหมดแล้วซึ่งแต่ ละองค์ล้วนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี

2.หลวงพ่อแจ่ม วัดแดงเหนือ เชี่ยวชาญเวทมนต์คาถาอาคม ได้ถ่ายทอดสรรพวิชาให้หลวงพ่อรวยทุกอย่าง อาศัยความขยันหมั่นเพียรและความตั้งใจมุ่งมั่นจึงก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนวิชาที่เล่าเรียนปฏิบัติเข้มขลังในพลังแห่งวิทยาคมสูงส่ง

หลวงพ่อรวยวัดตะโก 
เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อรวยวัดตะโก

กิตติคุณ

เป็นพระเกจิที่เปี่ยมเมตตาธรรมสูง มีความเป็นอยู่อย่างสมถะ เชี่ยวชาญสรรพเวทวิยาคม วัตถุมงคลเข้มขลังเปี่ยมพลังพุทธคุณมากประสบการณ์ แคล้วคลาดนิรันตราย และเมตตา มหานิยม โชคลาภ เป็นหนึ่ง

ปัจจุบันนี้ หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก มรณะภาพแล้วอย่างสงบ ด้วยวัยชราภาพ 95 ปี 7 เดือน 10 วัน พรรษา 76 ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 เวลา 21.00 น. หลวงพ่อรวยท่านยังฝากคำสอนไว้ให้ลูกศิษย์ของท่านใช้เป็น คติเตือนใจไว้ด้วยว่า

"อาตมาจะไปดลบันดาลให้เขาเป็น แบบโน้นแบบนี้ไม่ได้ จะรวยหรือไม่รวย ก็ขึ้นอยู่ที่ตัวเขาเอง ไม่ใช่เพราะหลวงพ่อ ถ้าอยากจะรวย ก็ต้องขยันทำมาหากิน และรู้จักประหยัดรู้จักเก็บออม ถ้าเขาทำดี ปรารถนาดี เขาก็ดีของเขาเอง"

คาถามหาลาภ

สัมพุทธชิตา จะ สัจจานิ เกรัตสะ พระพุทธชิตา สัพพโส คุณะวิภา สัมปัตโต นะรุตตะโม มหาลาภัง ภวันตุ เม.