กรุวัดพระราม

กรุพระเครื่องสำคัญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระเครื่องมรดกไทยล้ำค่า พระพุทธรูปทองคำฝังไว้ในกรุนี้

กรุวัดพระราม
กรุวัดพระราม

 เป็นวัดที่ใหญ่โตกว้างขวาง มีพระปรางค์ขนาดใหญ่เห็นเด่นชัดแต่ไกล องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐสอปูน เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมทำเป็นพระปรางค์ เพราะได้รับอิทธิพลแบบเขมรโบราณจากเมืองละโว้ (ลพบุรี)ด้านหน้าวัดเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ มีชื่อว่า บึงพระราม เดิมชื่อ บึงชีขันหรือหนองโสน เป็นหนองน้ำที่มีมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา

 

ในตำนานกล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงอพยพผู้คนหนีภัยโรคระบาดมาอยู่ที่ริมบึงแห่งนี้  วัดพระรามสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระราเมศวร ในบริเวณที่เคยเป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระเจ้าอู่ทอง พระราชบิดา เมื่อปี พ.ศ. 1912 นับว่าเป็นวัดสำคัญเพราะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง ครั้งสำคัญคือในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ  ความน่าสนใจอยู่บริเวณองค์ปรางค์ประธานที่ยังคงเหลือร่องรอยการประดับตกแต่งให้ชมอยู่บ้าง พระปรางค์ มีลักษณะเป็นแบบฝักข้าวโพด มีปรางค์บริวาร 3 องค์เรียงติดกันตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม มีการวางผังอยู่ในแนวตะวันออก – ตก ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นรูปสัตว์หิมพาน โครงสร้างภายในก่ออิฐถือปูนมีจิตรกรรมฝาผนังทั้งสองด้าน เป็นภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งปางมารวิชัยบนบัลลังก์ สีที่ใช้เป็นสีแดง คราม เหลืองและดำ เป็นภาพจิตรกรรมยุคอยุธยาตอนต้น แต่ปัจจุบันลบเลือนไปมาก ในพ.ศ.2501 กรมศิลปากรได้ขุดกรุที่วัดพระราม เพื่อทำการบูรณะ พบของมีค่ามากมาย เช่น พระพุทธรูปทองคำ พระพิมพ์ชินแบบอู่ทอง ลูกประคำทองคำ และลูกประคำแก้วผลึกอีกหลายรายการ

กรุวัดพระราม
กรุวัดพระราม
กรุวัดพระราม
กรุวัดพระราม