พระยอดธงกรุอยุธยา

พระยอดธงเป็นพระกรุที่ได้ถูกค้นพบตามกรุต่างๆทั่วไปในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวนมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่จะพบ แต่ที่พบได้มากที่สุดก็คือ กรุวัดราชบูรณะ และมีการพบอยู่หลายปาง หลายพิมพ์

สำหรับเนื้อของพระยอดธงในสมัยอยุธยานั้น เท่าที่พบ ก็มีหลายเนื้อ เช่น เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนาก เนื้อสำริด เนื้อชินตะกั่ว ความเป็นมาของพระยอดธงนั้นมีผู้สัญนิษฐานไว้ 2 กรณีด้วยกันคือ

1.สร้างขึ้นในยามศึกสงคราม และอันเชิญขึ้นติดไว้บนยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทัพ ยามออกศึกสงครามเพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้กับไพร่พล และนายกองต่างๆ ซึ่งหากเป็นกองทัพหลวง กองทัพพระมหากษัตริย์ ก็จะสร้างด้วยเนื้อทองคำ เนื้อนาก และเนื้อเงิน ตามลำดับฐานะ ซึ่งพระยอดธงทุกองค์ใต้ฐานจะมีเดือยยื่นออกมาสำหรับติดยอดธง จึงทำให้นิยมเรียกพระที่มีลักษณะนี้ว่าพระยอดธง ส่วนปางและพิมพ์ต่างๆนั้นน่าจะสร้างตามความเคารพศรัทธาของแม่ทัพนายกองนั้นๆ และเมื่อเสร็จศึกสงครามพระยอดธงจะถูกนำไปไว้ในกรุ ตามศาสนสถานต่างๆ 

พระยอดธงกรุอยุธยา

 

2.พระยอดธงที่มีประวัติความเป็นมาของชน ชาติมอญ ในอดีต วัฒนธรรมและพิธีกรรมของชนชาติมอญนั้น เมื่อพระสงฆ์รูปใดเป็นที่เคารพนับถือและมีจริยวัตรงดงาม โดยเฉพาะพระเถระชั้นผู้ใหญ่มรณภาพลง ก็จะไม่เผาในทันทีแต่จะเก็บสังขารเอาไว้และสร้างปราสาทปราสาทให้ถึง 9 ยอด เมื่อสร้างเสร็จก็จะมีพิธีชักปราสาท นอกจากจะเก็บสังขารพระสงฆ์เอาไว้แล้ว ผู้ที่เจ็บป่วยและตายจากการศึกสงครามก็จะไม่เผาในทันทีเช่นกัน แต่จะเก็บศพไว้อย่างน้อย 1ปี และศพก็จะมีการตี หน้ากาก ปิดหน้าศพไว้ หน้ากากเหล่านี้จะทำด้วยทองคำ นาก เงิน และตะกั่ว ตามฐานะของผู้ตาย เมื่อเผาศพหน้ากากเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ที่วัด ซึ่งหน้ากากตะกั่วจะถูกหลอมให้ละลาย แล้วหยอดเป็นกองๆ พอแข็งตัวก็แลดูคล้ายๆก้อนน้ำตาลปึก เพื่อเก็บเอาไว้ เมื่อถึงวาระสำคัญ เช่น ต้องออกศึก ก็จะทำพิธีกรรมจัดสร้างพระเครื่องขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายเป็นขวัญกำลังใจให้กับนักรบ โดยโลหะทองคำ เงิน นาก ก็จะสร้างเป็น พระชัยวัฒน์ โดยการหล่อจากหุ่นเป็นช่อแต่ไม่มีการตัดเดือยออก ในปัจจุบันเรียกกันว่าพระยอดธง สำหรับตะกั่วจำนวนมากก็จะนำไปสร้างเป็นพระท่ากระดาน พระที่สร้างจะมีกาประกอบพิธีพุทธาภิเษกอย่างถูกต้องจึงมีพุทธานุภาพทางอยู่ยงคงกระพันสูง ในการสัญนิษฐานนี้ก็มีหลักฐานการพบพระยอดธงที่จังหวัดปทุมธานี กรุวัดไก่เตี้ยซึ่งเป็นชุมชนชาวมอญในอดีต นั่นเอง

 

พระยอดธงกรุอยุธยา

พระยอดธงเนื้อทองคำ สังเกตุความเก่าได้ยาก เพราะเนื้อทองจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเท่าไร แม้ผ่านอายุมานับ 100ปี

สำหรับการดูพระทอง ในกรุ มีเพียง3 ข้อคือ

1.ความไม่เป็นระเบียบของผิวพระ  ผิวไม่เรียบเงาตึงเหมือนพระยุคใหม่

2.ต้องมีปรากฎคราบสีแดงๆ สนิมทอง เกิดขึ้นยากมากและทองต้องโดนความชื้นนานเป็นหลายๆปี  แต่ขัดล้างดีๆก็ออก แต่ตามซอกพระยังคงต้องเห็น เป็นคราบชัดๆเห็นตาเปล่า

3.ส่วนเนื้อทองคำสมัยก่อนเป็นทองผสมบ้าง ทองสมัยอยุธยาจะดูเนื้อแก่ๆขุ่นๆ จะไม่สุกสว่างเหมือนพระใหม่ในปัจจุบันเป็นสูตรที่พัฒนาแล้ว

หมวด: บทความ พระกรุ
ฮิต: 285