กรุวัดตะไกร

วัดตะไกร เป็นวัดเก่าแก่โบราณในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกเกาะเมืองอยุธยา ทำไม่ สมเด็จพระนเรศวร จึงโปรดมาทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ที่วัดตะไกร ?

วัดตะไกร สัญนิษฐานจากสถาปัตยกรรมแล้ว น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง หรือ น่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ขึ้นมาจนถึงสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ปี พ.ศ.2006-2170  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดหน้าพระเมรุ บริเวณชุมชนคลองสระบัว ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในบริเวณคลองสระบัวใช้เป็นเส้นทางคมนาคมตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงโปรดให้ย้ายเพนียดคล้องช้าง วัดชองบริเวณหัวรอ ไปยังตำบลสวนพริกในปัจจุบันนี้ คลองสระบัวจึงถูกกำหนดให้เป็นเส้นทางพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ไปยังเพนียดคลองช้าง วัดตะไกรถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่คราเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ปี พ.ศ.2310 และมีหลักฐานการกลับมาใช้อีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดตะไกรนี้มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชหากจะทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ต้องมาทรงเครื่องที่วัดตะไกร เนื่องจากท่านมีวิชาคงกระพันชาตรี เจ้าอาวาสหรือพระอาจารย์ที่มีวิทยาคมสูงส่งเท่านั้นที่จะ ทรงเครื่องใหญ่ท่านได้ จึงเป็นเหตุให้ พระกรุวัดตะไกรนี้ เด่นดังไปในทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีเป็นยิ่งนัก พระกรุวัดตะไกรนี้ เป็นพระกรุที่ได้รับความนิยมพอสมควรในอดีต มีการพบทั้ง เนื้อดิน เนื้อชิน เนื้อชินสนิมแดง แต่ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดิน ตามหลักฐานการค้นพบพระกรุวัดตะไกร พบครั้งแรกในปี 2470 ในพระเจดีย์ร้างบริเวณวัดตะไกรเป็นจำนวนมาก 

สำหรับพระพิมพ์ที่พบกรุวัดตะไกรนี้ แบ่งเป็น

1.พิมพ์หน้าครุฑ 

2.พิมพ์หน้ามงคล 

3.พิมพ์หน้าฤๅษี

พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ หน้ามงคล หน้าฤๅษี
พระกรุวัดตะไกร พิมพ์หน้าครุฑ หน้ามงคล หน้าฤๅษี

นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์อื่นๆ อีกด้วย เช่น พระพิมพ์หลวงพ่อโต ปัจจุบันเรียก "หลวงพ่อโป้" หรือ "พระโป้" ซึ่งพุทธลักษณ์ของพระกรุวัดตะไกร เนื้อดิน นั้นจะต้องมีรูไม้เสียบที่ก้นใต้ฐานองค์พระทุกองค์ สัญนิษฐานว่าเอาไม้เสียบเวลานำพระออกจากแม่พิมพ์ และบางองค์ยังพบมีการลงรักปิดทองเดิมจากกรุด้วยเช่นกัน สำหรับเนื้อชินจะพบจำนวนน้อยกว่า เนื้อดิน ส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์หน้ามงคล สำหรับพระพิมพ์กรุวัดตะไกรนี้ยังมีการพบอีกหลายครั้งที่วัดอื่นๆ เช่น วัดเลียบในกรุงเทพ กรุวัดเชิงท่า นนทบุรี และครั้งล่าสุดในวันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2542 ที่ด้านข้างสระน้ำมนต์ทางทิศตะวันออกของวิหารใหญ่ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์หน้าครุฑ แต่ก็มีนักนิยมสะสมบางกลุ่มสัญนิษฐานว่าอาจไม่ใช่แตกกรุออกมาจริง จึงเป็นที่ถกเถียงกันมาโดยตลอดสำหรับพิมพ์หน้าครุฑที่แตกกรุออกมาครั้งหลังนี้  ส่วนพระที่ไม่มีรูไม้เสียบแต่เป็น พิมพ์กรุวัดตะไกร สัญนิษฐานว่ามาจากกรุอื่น 

พระกรุวัดตะไกร
พระกรุวัดตะไกร