หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน

หลวงปู่ยิ้ม มีพระสหธรรมมิกที่ร่วม ครู-อุปัชฌาย์ อาจารย์องค์เดียวกันในยุคนั้นคือ หลวง พ่อจงวัดหน้าต่างนอก ซึ่งมีอายุมากกว่าหลวงปู่ยิ้ม 3 ปี อีกรูปหนึ่งคือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเกิดปีเดียวกับหลวงปู่ยิ้ม มีญาติโยมที่เป็นนักเลงสมัยนั้นได้ตั้งสมญานามให้ดูน่าเกรงว่า “ สามเสือแห่งกรุงเก่า ”

วัดเจ้าเจ็ดใน ตั้งอยู่ที่ริมคลองเจ้าเจ็ดซึ่งเป็นทางไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบัน วัดเจ้าเจ็ดในตั้งอยู่ที่ 34 ถนนสุขาภิบาลเจ้าเจ็ด หมู่ที่ 3 ตำบลเจ้าเจ็ด อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา วัดเจ้าเจ็ดในเกิดขึ้นหลัง

หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน

จากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่าใหม่ๆปี พ.ศ.2310 ท้องที่เจ้าเจ็ดเป็นดินแดนลุ่มลาดซึ่งเป็นป่ารกร้างมาก จึงเป็นที่อาศัยของสัตว์ร้ายเช่น จระเข้ ช้าง เสือ เป็นต้น และเป็นที่ลี้ภัยสงครามพม่าของเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ในครั้งนั้น เมื่อเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ทั้งหลายลี้ภัยมาพักอาศัยอยู่ที่ตำบลนี้ ซึ่งคงนับได้ 7 พระองค์ จึงได้สร้างปูชนีย์วัตถุไว้ ต่อมาประชาชนจึงได้ถือเอาที่นี้เป็นวัด จึงได้ซื่อว่า “วัดเจ้าเจ็ด” ต่อมาภายหลังได้เกิดวัดขึ้นอีกวัดตั้งอยู่ทิศเหนือ มีเนื้อที่ติดต่อกัน ดังนั้นวัดเจ้าเจ็ดจึงมีคำว่า “ใน” ต่อท้าย ต่อมาปี 2449 พระธรรมดิลก (อิ่ม) กับพระอุปัชฌาย์ ปั้น เป็นเจ้าอาวาสขณะนั้นเป็นหัวหน้าประชาชน ชาวเจ้าเจ็ด และกรุงเทพ ร่วมกันสร้างโรงอุโบสถขึ้นโดยสร้างทับที่ของเดิม และผูกพัทธสีมาเมื่อปี 2450 เจ้าอาวาสที่สืบทราบนามได้ มี 5 รูป คือ

1. พระอาจารย์จีน (พระอาจารย์ สอนพระปริยัติธรรม และภาษาบาลี ให้กับหลวงพ่อปานวัดบางนมโค และหลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด)

2. พระอุปัชฌาย์ ปั้น

3. พระครูพรหมวิหารคุณ (หลวงปู่ยิ้ม)

4. พระอาจารย์คำ (รักษาการ)

5. พระครูเสนาคณานุรักษ์

หลวงปู่ยิ้มสิริ โชติ ( พระครู พรหมวิหารคุณ ) “ ผู้รังสรรค์ งบน้ำอ้อยกระเดื่องดิน ” วัดเจ้าเจ็ดใน อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

หลวงปู่ยิ้มสิริโชติ เป็นคนดี ศรีอยุธยา เลือดคุ้งน้ำเจ้าเจ็ด…นามเดิม ยิ้ม กระจ่าง เป็นบุตรนายอ่วม นางสุด กระจ่าง ท่านเกิดที่ตำบลเจ้าเจ็ดอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดที่บ้านสาลี หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแถว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2418

(จันทรคติ วันเสาร์ -- ค่ำ เดือน – ปีกุน จ.ศ. 1237 ) มีพี่น้องร่วมบิดา มารดารวม 3 คน คือ

1. นายจ่าง กระจ่าง

2. พระครูพรหมวิหารคุณ (ยิ้ม สิริโชติ)

3. นายโชติ กระจ่าง

โยมที่บ้านมีอาชีพทางกสิกรรม ทำไร่ ทำนาบรรพชาเป็นสามเณรมาตั้งแต่อายุได้ 12 ขวบ พ.ศ. 2430 อุปสมบท เมื่ออายุครบ 20 ปี พ.ศ. 2438 ณ พัทธสีมา วัดเจ้าเจ็ดนอก มีพระอาจารย์สิน วัดโพธิ์ เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จาดเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สุ่มเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนา ศึกษาพระคัมภีร์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน เขียนอักขระเลขยันต์ ลบผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ ผู้สืบสานวิชาอาคมมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า…คือพระอาจารย์จาด และพระอาจารย์จีน สำนักวัดเจ้าเจ็ดใน ( พระอาจารย์จีน เป็นพระอาจารย์สอนอักขร สมัยให้กับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ในครั้งนั้นด้วย ) พออายุ 18 ปี ก็ย้ายไปศึกษาที่วัดกระโดงทอง ภายใต้การปกครองของหลวงพ่อบุญมี สำเร็จยันต์นะ ปัดตลอด และสามารถเขียนยันต์ผงทะลุแผ่นกระดานชนวนได้อย่างอัศจรรย์ ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเจ้าเจ็ดใน ต่อจากพระอุปฌาย์ ปั้น ในสมัยนั้นวัดเจ้าเจ็ดใน ได้แบ่งออกเป็น 3 คณะ โดยมีหลวงปู่ยิ้ม เป็นเจ้าคณะเหนือ หลวงปู่โฉม เป็นเจ้าคณะใต้ และหลวงปู่คำ เป็นเจ้าคณะตะวันออก และหลวงปู่ยิ้มยังเป็นเจ้าคณะตำบลเจ้าเจ็ด เป็นพระครูกรรมการศึกษาและเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ.2478 ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็น พระครูพรหมวิหารคุณ พ.ศ. 2493 เป็นเจ้าคณะอำเภอบางซ้าย มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2499 รวมอายุได้ 81 ปี ครั้งเมือหลวงปู่ยิ้ม ยังมีชีวิตอยู่ท่านเป็นพระที่อุดมด้วย ศีลลาจารวัตร ตลอดชีวิตของหลวงปู่ เป็นพระที่อารมณ์เย็น เคร่งครัด แต่มีเมตตาธรรมสูง พูดน้อย และมีผู้คนไปกราบนมัสการหาสู่ท่านมิได้ขาด นับว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ดังแห่งกรุงศรีอยุธยา, ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามอินโดจีน

หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน 
หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด ทำพิธีปลุกเสกพระเครื่อง

หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด

หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นอาจารย์ร่วมสมัยเดียวกับ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ท่านจึงเป็นพระอาจารย์อาวุโส มรณภาพเมื่อปี 2499 (อายุ 81 ปี) หลังหลวงพ่อปาน 18 ปี ( 2499 - 2481 ) แต่ก่อนหลวงพ่อจงราว 8 ปี ( 2499 – 2507 ) วัดของท่านเหล่านี้อยู่ไม่ไกลกันนัก ท่านเป็นสหธรรมมิก และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี จนชาวอยุธยาเรียกกันติดปากว่า

“ พระหมอหลวงพ่อปาน เกจิอาจารย์หลวงพ่อจง เมตตาไหลหลง หลวงพ่อยิ้ม”

หลวงพ่อทั้ง 3 มีความสนิทสนมกลมเกลียวกันยิ่งนัก ต่างคนต่างผลัดไปมาหาสู่ต่อวิชา ซึ่งกันและกันที่วัดของแต่ละองค์ ครั้งละหลายๆ วัน ชาวกรุง เก่าที่รู้ซึ้ง จึงกระซิบต่อๆ กันว่า พระเครื่องของทั้ง 3 องค์นี้พุทธคุณขลังเหมือนกัน ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี เมื่อต่างองค์ต่างสร้างพระเครื่องฯ เพื่อสืบทอดพระศาสนาต่างก็มานั่งปรกพุทธาภิเษกด้วยกัน แทบทุกๆครั้งไป….. เหตุการณ์ สำคัญ อธิเช่น การปลุกเสกทราย และขึ้นเครื่องบินโปรยลงสถานที่สำคัญๆ ในประเทศไทย เมื่อครั้งสมัยสงครามอินโดจีนฯ ช่วง พ.ศ. 2485 ฝรั่งเศสที่ต้องการจะยึดดินแดนของไทยเป็นประเทศใน อานานิคม มีผลร้ายแรง พอๆ กับ สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นเรื่องของความสามัคคี เพื่อให้สถาบันชาติอยู่ได้ สถาบันศาสนาอยู่ได้ และสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ได้ และสืบต่อพระศาสนา ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป.

หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน 
หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด

หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด วาจาสิทธิ์

จากการที่หมั่นสวดมนต์ภาวนา ให้ทาน รักษาศีล และเจริญพระกรรมฐานภาวนา ตลอดจนสั่งสอนให้คนทำความดีเป็นนิตย์ หล่อหลอมให้ภิกษุชราพุทธบุตรรูปหนึ่ง มีวาจาสิทธิ์ดุจเทพเจ้าฯ ทั้งให้พร… เสกน้ำพระพุทธมนต์ รักษาโรค เป็นที่ประจักษ์ตาแก่ชาวบ้านใกล้ และไกล หลวงปู่ไม่ชอบคนมุสา... คนดื่ม น้ำเมา... คนกาเม… คนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต… คนลักขโมย… (คนที่ชอบละเมิดศีลห้า) และคนที่ งอมืองอเท้า ขี้เกียจทำกิน… หลวงปู่ยิ้มท่านมีวาจาสิทธิ์ พูดคำไหนเป็นคำนั้นไม่พูดมาก พูดแต่สิ่งที่ดี ๆ เมื่อสั่งสอนครั้ง สองครั้งยังไม่เลิกละ หลวงปู่ก็จะเปรยๆ พอให้ศิษย์ใกล้ชิดได้ยินว่า

“ พวกนี้มันบัวใต้น้ำ… ชี้ทางสวรรค์ให้เดินไม่ยอมเดิน ”

( เป็นการชี้ให้เห็นว่าประตูสู่สวรรค์ก็คือศีลห้านั่นเอง ) และในไม่ช้าบุคคลดังกล่าวข้างต้นนี้ก็มีอันเป็นไปในที่สุด ……
ย่างเข้าสู่วัยชรา ทุกสรรพสิ่งที่เกิดมานานแล้วก็ร่วงโรยไปในที่สุด หลวงปู่ยิ้มละสังขารไปด้วยอาการอันงบ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2499 (วันจันทร์ แรม 12 ค่ำ เดือน 10 ปีวอก จ.ศ. 1318 ) รวมสิริอายุได้ 81 ปี 61 พรรษา

“ เหลือไว้แต่คุณความดี รูปปั้น ภาพ ถ่าย วัตถุมงคล ให้ได้ระลึกถึง ล่วงเลยมากว่า 50 ปี ”

หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน 
หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด

 

ทั้งศิษย์ใกล้ และไกล… ในประเทศ และต่างประเทศ ชาวอำเภอเสนา อำเภอบางซ้าย ลูกหลานเจ้าเจ็ดฯ จ.พระนครศรีอยุธยา ตลอดจนชนรุ่นหลังที่ให้การเคารพนับถือ ขอรำลึกในคุณงามความดีของหลวงปู่ ท่านฯ ตราบนานเท่านาน….. หลวงปู่ยิ้มท่านได้สร้างพระเครื่องวัตถุมงคล ตั้งแต่ปี 2475 มีชื่อทางด้านพระงบน้ำอ้อยเนื้อดินเผา และพระพิมพ์เนื้อดินเผาพิมพ์ต่างๆ ซึ่งให้ผลทางด้านเมตตา แคล้วคลาด คงกระพันฯโดย วัตถุมงคลต่างๆ สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึก แก่ผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ในการปฏิบัติบูชา อามิสบูชา บูรณปฏิสังขรณ์วัด ทำนุบำรุงศาสนา และสานต่อ หรือสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้แก่ชนรุ่นหลังหรือเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว จิตใจ เป็น พุทธานุสติ ธรรมมานุสติ และสังฆานุสติ มิได้สร้างไว้เพื่อหลงงมงายในอิทธิปาฏิหาริย์ อิทธิปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากจิตศรัทธา เกิดจากสัจจะธรรม, กรรม คือการกระทำ ของผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ……

หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด

หลวงปู่ยิ้มท่านได้ สร้างวัตถุมงคล ตั้งแต่ปี 2475 มีชื่อทางด้านพระงบน้ำอ้อยเนื้อดินเผา และพระพิมพ์เนื้อดินเผาพิมพ์ต่างๆ ซึ่งให้ผลทางด้านโชคลาภ เมตตา แคล้วคลาด และคงกระพันฯโดย วัตถุมงคลต่างๆ สร้างไว้เพื่อเป็นที่ระลึก แก่ผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ในการปฏิบัติบูชา อามิสบูชา บูรณปฏิสังขรณ์วัด ทำนุบำรุงศาสนา และสานต่อ หรือสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้แก่ชนรุ่นหลังหรือเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว จิตใจ เป็น พุทธานุสติ ธรรมมานุสติ และสังฆานุสติ มิได้สร้างไว้เพื่อหลงงมงายในอิทธิปาฏิหาริย์ อิทธิปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากจิตศรัทธา เกิดจากสัจจะธรรม, กรรม คือการกระทำ ของผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ

หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน 
พระเนื้อดินเผาหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด

พระเครื่องของหลวงปู่ยิ้ม ที่รู้จักกันดีก็คือ พระงบน้ำอ้อย ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก เนื้อพระเป็นดินเผาสีหม้อใหม่ เนื้อดินแบบเดียวกับของหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโค ส่วนพระเครื่องที่ท่านสร้างนอกจากพระงบน้ำอ้อย แล้วยังมีพระสมเด็จฯ พิมพ์ปรกโพธิ์ พระสมเด็จฯ พิมพ์รัศมี พระร่วงทรงยืนประทานพร พระพุทธทรงเดินลีลา พระพุทธชินราช พระพิมพ์ขุนแผน พระโคนสมอ พระกลีบบัว พระนางพญาพิมพ์ฐานบัว พิมพ์แขนอ่อน พิมพ์หยดน้ำพระหลวงพ่อโต พระพุทธทรงหนุมาน (หันซ้าย-ขวา และเศียรโต) พระปิตตา และนางกวัก ซึ่งเป็นพระเนื้อดินเผาสีหม้อสีหม้อใหม่สีน้ำตาลอิฐ, สีขาวนวล, เนื้อสีเทาอมน้ำตาล, สีเทาอมเขียว, เนื้อเขียวมอยแบบเนื้อ ผ่านไฟ ซึ่งเป็นพระยุคแรกๆ บางองค์จะทาทับด้วยสีบรอนซ์ทอง หรือสีบรอนซ์เงิน (ให้ดูสวยงาม ) ด้านหลังองค์พระจะมีรอยเสี้ยนไม้กระดาน เนื้อพระจะมีดินทรายละเอียดปนอยู่ มีอายุการสร้างไม่ต่ำกว่า 50 ปี ซึ่งพระเครื่องส่วนใหญ่จะสร้างเป็นแบบลักษณะพระกรุเก่าสมัยสุโขทัย กำแพงเพชร หรือพระกรุสมัยต่างๆ ที่มีอายุมากกว่า 200 ปี หรือว่ามีลักษณะแบบพระโบราณจารย์ เช่นงบน้ำอ้อยของหลวงพ่อเนียม วัดน้อย พระชินราช และพระพิมพ์ขุนแผนหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน พระสมเด็จพิมพ์รัศมีของหลวงปู่จีน พระสมเด็จพิมพ์รัศมีของหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า หรือ พระสมเด็จวัดเกศไชโยของสมเด็จพระพุทธาจารย์โตฯ ที่มีอายุการสร้างประมาณไม่ต่ำกว่า 150 ปี เมื่อเอ่ยถามถึงหลวงปู่ยิ้ม สมภารวัดเจ้าเจ็ด ด้วยศรัทธาที่เปี่ยมล้นในจริยาวัตรของหลวงปู่ยิ้ม แห่งวัดเจ้าเจ็ด ท่านสร้างพระพิมพ์เนื้อดินเผา ด้วยความตั้งใจที่จะสืบอายุพระศาสนา ความตั้งใจของท่านนั้นจะสร้างให้ครบพระธรรมขันธ์ คือ 84,500 องค์ การแกะแม่พิมพ์ แกะจากหินลับมีด ( ลักษณะหินลับมีดโกนของพระ ) โดย มีลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้แกะให้ และให้พระ, เณร, ลูกศิษย์ใกล้ชิด และเด็กวัดฯ ช่วยกันผสม กดพิมพ์- แกะพิมพ์ และเผาตามพิธีการของท่าน ซึ่งกล่าวกันว่าท่าน ได้แรงบัลดาลใจมาจาก การสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผา พระกรุสมัยต่างๆ และจากพระโบราณจารย์ต่างๆ และพระเครื่องของท่านบางพิมพ์สร้างล้อพิมพ์ของวัดบางนมโค, มีบางท่านเล่าว่าพระพิมพ์ทรงสัตว์ของ หลวงปู่ยิ้มนั้นช่างที่แกะแม่พิมพ์ของวัดเจ้าเจ็ดได้ขอต่อวิชา จากช่างที่แกะแม่พิมพ์ของวัดบางนมโค โดยค่าครูสำหรับการต่อวิชาแกะแม่พิมพ์เป็นเงิน 1บาทในสมัยนั้นฯ และยังมีพิมพ์พระสมเด็จฯ ของหลวงปู่ยิ้ม ซึ่งพระพิมพ์ของท่านจะมีเอกลักษณ์ เพราะมีการแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ทั้งหมดและด้านหลังพระพิมพ์จะมีรอยปาด ลักษณะเสี้ยนไม้โดยมีดินขุยปู ข้าวก้นบาตร และเถ้าขี้ธูปที่บูชาพระประธานในโบสถ์ ผงวิเศษที่ท่านลบ และสรรพสิ่งอันเป็นมงคลที่ท่านรวบรวมมา ท่านได้ใช้มูลดินของกรุงศรีอยุธยา ท่านสร้างพระพิมพ์เนื้อดินซึ่งเกิดจากแม่ธาตุทั้งสี่มาประชุมหรือผสมรวมกัน คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ ซึ่งใช้องค์ประกอบของดินขุยปูหรือดินปากรูปูเป็นหลักมาผสม และทำการปลุกเสกตามวิธีของท่าน… โดยมีความเชื่อกันตั้งแต่โบราณแล้วว่าดินขุยปู มีสรรพคุณทางด้านเมตตามหานิยมเป็นอย่างสูง จากการสังเกตของคนโบราณที่ปูตัวผู้ จะขุดดินในรูแล้วอมเอาออกมาพ่นคายไว้ที่ปากรูปู พอปูตัวเมียเดินผ่านมาก็จะเดินเข้าไปในรูของปูตัวผู้เพื่อวางไข่ ความเป็นคนช่างสังเกตของคนโบราณ ที่บางครั้งรูปูรูเดียวมีปูสาวๆลงไปกันมาก การเก็บดินขุยปูนั้นมิใช่ว่า จะเก็บเอามา หมดทุกรู แต่จะต้องดูรูที่มีลักษณะขุยเป็นพู ซึ่งเป็นรูของปูตัวผู้ และก็มีทั้งปูหนุ่มเสน่ห์แรง หรือว่าปูขี้โรค ในความหมายทางชีววิทยานั้น การสืบสานเผ่าพันธุ์ ของปูนา ธรรมชาติได้สรรสร้างให้ ปูตัวผู้ เป็นผู้เตรียมรูรังสำหรับวางไข่ และการอมดินในรูออกมาคายไว้ที่ปากรูนั้น ปูตัวผู้ก็จะคายเอาฮอร์โมนเพศ ซึ่งมีผลทางชีวเคมี ที่สามารถ ส่งกลิ่นไปในน้ำให้ปูตัวเมียที่มีไข่แก่พร้อมในการเจริญพันธ์ ตามกลิ่นเข้ามาในรูของปูหนุ่มเพื่อวางไข่ ธรรมชาติจะคัดเลือกและออกแบบเอาไว้อย่างลงตัว ให้ปูหนุ่มที่แข็งแรงจะมีฮอร์โมน ที่มีกลิ่นแรงและสามารถกระจายออกไปได้ไกล เพื่อให้ปูตัวที่แข็งแรงและสมบูรณ์ เป็นผู้ทำหน้าที่อันทรงเกียรตินี้ ในทำนองเดียวกัน พวกปูขี้โรค ปูก้ามลีบ หรือปูหน้าปลาจวดก็จะมีกลิ่นที่แผ่ว ปูตัวเมียเดินผ่านเลยไปหมด เราเองยังนึกทึ่งในความแยบคายของธรรมชาติ และความช่างสังเกตของคนโบราณ คนสมัยใหม่อาจจะหาว่าคนสมัยก่อนว่างมากจึงมีเวลาสังเกตพฤติกรรมของปู แต่ถ้ามามองกันลึกๆแล้ว คนสมัยก่อนท่านละเมียดละมัยในการดำเนินชีวิตที่ทำงานก็คือท้องไร่ท้องนา และท่านก็รอบรู้แบบสุดๆ ในงานที่ท่านทำละเอียด ละออไปทุกส่วน คนสมัยนี้ประมาทไม่ได้ทีเดียว ท้องนาเป็นสิบๆไร่ ท่านก็รู้หมดว่าตรงไหนมีอะไร คนสมัยนี้กะอีแค่ออฟฟิตแคบๆ ก็ยังไม่สามารถควบคุมจัดการได้ ยังมีตำนานเล่าอีกว่าผู้ที่นำดินขุยปูขนาด 1 ปี๊บมาถวาย หลวงปู่ฯ ท่านจะให้เงินเป็นค่าตอบแทน 1 สลึงในสมัยนั้นเอาหละครับมาว่ากันถึงพระพิมพ์เนื้อดินที่หลวงปู่สร้างเอาไว้ ในสมัยนั้นก่อนปี พ.ศ.2500 คนไทยเรานิยมพระกรุ พระเก่า โดยเฉพาะพระเนื้อชิน หรือพระปิดตามหาอุตม์ พระเครื่องที่สร้างโดยพระสงฆ์จึงไม่ค่อยได้รับความนิยม เท่าที่ควร ส่วนมากถ้าองค์ไหนมีวิชาอาคม ก็นิยมจะสักยันต์ หรือเป็นประเภทเครื่องรางของขลังกันเลย หลวงปู่ ยิ้มท่านสร้างพระเครื่องมากมาย เพื่อแจกลูกศิษย์ลูกหา ทั้งญาติ-โยม หญิง-ชาย รวมถึงเด็ก และเพื่อบรรจุลงกรุในพระเจดีย์ บรรจุใต้พระประธาน และตามเพดานโบสถ์ หรือสถานที่ๆ ที่คนมากราบไหว้แม้แต่หิ้งบูชาของท่านเอง ท่านจะคัดพระพิมพ์ที่สวยๆ พิมพ์ต่างๆ โดยเฉพาะพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ ติดไว้กับแผงไม้ ( 1.2 เมตร x 2.4 เมตร ) ไว้ที่หิ้งบูชาในกุฏิของท่าน ( ชาวบ้านจึงเรียกพระพิมพ์ว่า พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ติดแผง ) ท่านกราบไหว้ทุกๆ วัน-คืน เป็นพุทธานุสติฯ กรรมฐานของท่าน (เป็นธุดงค์กรรมฐานนุสติที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บำเพ็ญเพียรใต้ต้น พระศรีมหาโพธิ์ฯ, สมเด็จฯปรกโพธิ์ฯ ) และการสร้างพระพิมพ์ของท่านนั้นก็ใช้แม่พิมพ์แกะขึ้นเอง จากนั้นก็กดพิมพ์และก็เผาให้สุกโดยนำพระเครื่องใส่ลงในบาตรพระ และสุมไฟไปเรื่อยๆ จนดินสุกได้ที่ ทำให้เกิดมีการสร้างพระเครื่องได้จำนวนมาก ในตอนนั้นยังขาดผู้คนสนใจ และมีผู้สงสัยในการสร้างพระเครื่องของท่านว่าจะมีพุทธคุณหรือไม่ เพราะเห็นว่าพระเครื่องมีจำนวนมากมายก่ายกอง คาดว่าท่านคงนึกรำคาญ จึงเอาผ้าเช็ดหน้า มาขอดเป็นปม แล้วโยนลงไว้ที่พื้น ให้ผู้ที่สงสัยใช้ปืนยิง ปรากฏว่ายิงไม่ออก จากนั้นจึงไม่มีใครกล้าถามท่านอีก หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด

หลังจากที่หลวงปู่ ท่านละสังขารไปแล้ว พระเครื่องที่ได้บรรจุเอาไว้ในกรุได้ครบตามประสงค์ของท่าน และก็ยังมีส่วนที่เกิน เหลือจากการบรรจุกรุก็ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ลูกหลานบ้านเจ้าเจ็ด เมื่อจะไปทำงานต่างถิ่นก็จะมาขอ และนำไปบูชาติดตัว บางคนก็ไปเป็นทหาร ออกรบในแนวหน้าหรือเขตพื้นที่สีแดงเกิดมีประสบการณ์ในด้านคุ้มครองป้องกัน ก็ถือว่าเป็นของดีของคนแถวนั้น และเมื่อท่านละสังขารไปนานแล้ว ทางวัดก็ยังมีภาระในเรื่องของค่าไม้ และวัสดุก่อสร้างในการบูรณะถาวรวัตถุ ภายในวัด บรรดาศิษย์และชาวบ้านจึงนำเอาพระเครื่องบางส่วนที่เหลือของท่านนำมาแจกให้ กับผู้ที่ร่วมทำบุญช่วยบริจาคสร้างวัด และคนในยุคนั้นไม่รู้เป็นยังไง ชอบลองพระกันเหลือเกิน แบบที่ว่าถ้าไม่แน่จริงก็จะไม่แขวนให้หนักคอเปล่าๆ พอได้รับพระพิมพ์งบน้ำอ้อยมาแล้ว เดินหายไปหลังวัด ในสวนกล้วยเอาไม้กลัดเสียบต้นกล้วยไว้สองอัน แล้วเอาพระพิมพ์งบน้ำอ้อยวางที่ระหว่างไม้กลัด ขอขมาลาโทษต่อท่าน แล้วใช้ปืนคาร์บิน (ปืนยาวของ ตำรวจสมัยก่อน) ยิงไม่ออกสามนัดเป็นที่อัศจรรย์ พวกไทยมุงและกองเชียร์ ต่างก็ประจักษ์ในความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องที่ท่านสร้าง ต่างก็เฮโลกัน เช่าทำบุญเก็บกันเอาไว้กันคนละมากๆ และก็ขอให้ทุกท่านอย่าได้คิดลองจะเป็นบาปติดตัว ไปในภายภาคหน้า เพราะเป็นการลบหลู่ต่อพระพุทธคุณ จะไม่เป็นมงคลแก่ตนเอง เวลาลูกหลานจะไปไกลบ้านก็จะมอบให้ไปบูชาติดตัว มิตร สหายต่างถิ่นแวะเวียนมาเยี่ยมถามถึงของดี ก็จะแจกให้ไปบูชาแบบไม่กลัวเสียเชิงคนเจ้าเจ็ด เพราะเชื่อมั่นในพุทธคุณ และเรื่องราวความศักดิ์สิทธ์ของท่านที่ได้ เล่าขานสืบต่อ กันมา

หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน 
พระงบน้ำอ้อยหลวงปู่ยิ้ม

 

พระเครื่องเนื้อดินเผาของท่านจึงกระจายออก ไปสู่ส่วนกลาง เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะพิมพ์งบน้ำอ้อย ซึ่งมีจำนวนการสร้างมากที่สุด และมีอยู่หลายแม่พิมพ์ ขนาดใกล้เคียงกัน เป็นรูปของพระนั่งหันพระเกศเข้าสู่ศูนย์กลาง ห้าองค์บ้าง หรือ สิบองค์บ้าง บางองค์ที่ผ่านการสัมผัสบูชา ถูกไออุ่น หรือไอเหงื่อก็จะมีสีเข้มขึ้น อายุการสร้างก็ประมาณมากกว่า 50 กว่าปีล่วงมาแล้ว คาดว่าอายุไม่หย่อนกว่าพระเครื่องหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และ เป็นพระเครื่องที่มีวัตถุประสงค์การสร้างที่บริสุทธิ์ และพระเถระผู้สร้างก็บริสุทธิ์ ท่านก็แก่กล้าในวิชาอาคม ทั้งยังมีประสบการณ์เป็นที่เล่าขานกันมาตลอดห้าสิบกว่าปี แนวคิดของหลวงปู่ยิ้มก็คือ ท่านจะสร้างพระเครื่องแบบมากมาย และก็แจกแบบให้ฟรีๆ ท่านแจกให้กับคนทุกเพศ ทุกวัย และ ยังมีชาวบ้านในสมัยที่โตทันหลวงปู่ยิ้มเล่าให้ฟังว่า ใครที่ถวายขนมครกแก่ท่าน 3 ฝา คนผู้นั้นก็จะได้รับพระจากท่าน 1 องค์ ซึ่งเป็นเรื่องหนึ่งที่เป็นกุศโลบายของท่านฯ ท่านต้องการให้มีรูปของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กระจายไปทั่วดินแดน สุวรรณภูมิ เพราะความเชื่อที่กล่าวกันว่าเมื่อครบปี พ.ศ. 5000 พระศาสนาจะสูญสิ้นไป ผู้ที่สร้างพระเครื่องถวายเป็นพุทธบูชา เพื่อให้เป็นหลักฐานให้คนในยุคปัจจุบัน และอนาคตได้เห็นรูปของพระพุทธองค์ และเกิดการสืบสาวพระศาสนา จนพระศาสนาจะกลับคืนมาอีกครั้งในยุคของพระศรีอาริยะเมตไตร

ขอบารมีหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน อำนวยอวยพรให้ทุกๆ ท่านโชคดี มีความสุข ครับ

หมวด: บทความ พระเกจิ
ฮิต: 384