หลวงพ่อนอ วัดกลาง

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในอดีตมีพระเถระอาจารย์มีชื่อเสียงเรียงนามเป็นที่เคารพรักศรัทธาและภาคภูมิใจของชาวอยุธยาเมืองกรุงเก่าอยู่มากมายหลายท่าน อาทิเช่น หลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติ หลวงพ่อฉายวัดพนันเชิง หลวงพ่อพันวัดบ้านสร้าง หลวงพ่อนวมวัดกลาง หลวงปู่กรองวัดเทพจันทร์ลอย หลวงพ่อขันวัดนกกระจาบ ซึ่งท่านทั้งหลายล้วนเป็นเกจิยุคต้นๆ ที่ใครๆก็ต่างรู้จัก

 หลวงพ่อนอวัดกลาง

หลวงพ่อนอ วัดกลาง อ.ท่าเรือ

แต่เมื่อเอยถึงยุคกึ่งพุทธกาล พระเกจิอยุธยา ที่มีชื่อเสียง นอกจาก หลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก แล้ว ก็ยังมีหลวงพ่อนอ วัดกลาง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งวัตถุมงคลพระเครื่องรางของขลังของท่านนั้น ก็เป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมสะสมพระเครื่องวัตถุมงคลทั้งหลาย ด้วยที่ว่าพระเหรียญ หรือพระเนื้อผงทั้งหลาย รวมถึงเครื่องรางของท่านนั้นมีชื่อเสียงโดดเด่นไปทางด้าน มหาอุตย์ หยุดปืน และเมตตามหานิยม โดยเฉพาะตะกรุดหนังเสือซึ่งเป็นเครื่องรางที่ท่านสร้างขึ้นมานั้นก็เป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงไม่แพ้ตะกรุดหนังเสือของสำนักใดๆในประเทศไทยเลย

หลวงพ่อนอวัดกลาง

 

ตะกรุหนังเสือหลวงพ่อนอ

หลวงพ่อนอถือกำเนิดวันอังคารที่ 31 มกราคม 2435 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง ในตระกูล "งามวาจา" เป็นบุตรของนายสวน และนางพุฒ งามวาจา ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ในพี่น้องทั้งหมด 8 คน เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบ ได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากพระภิกษุสวย ซึ่งเป็นลุงอยู่ที่วัดศาลาลอย เป็นเวลา 5 ปี จึงทำให้ท่านนั้นสามารถอ่านเขียนได้คล่องแคล่วจากนั้นหลวงลุงสวยได้นำท่านไปฝากไว้กับพระมหาวงษ์สำนักวัดกษัตราธิราช ซึ่งพระมาหาวงษ์ผู้นี้เป็นผู้ที่มีความแตกฉานในทางอักษรศาสตร์และพระปริยัติธรรมอย่างเอกอุ จึงมีผู้นำบุตรมาฝากให้เรียนอยู่กับท่านเป็นจำนวนมาก หลวงพ่อนอจึงเรียนอยู่ในสำนักนี้จนอายุถึง 17 ปี จึงเข้าบรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งท่านบรรพชาเป็นสามเณรได้เพียง 3 พรรษาก็มีเหตุให้ท่านต้องสึกออกมาเป็นทหารรับใช้ชาติบ้านเมือง 2 ปี และหลังจากปลดประจำการแล้วจึงได้เข้าอุปสมบทที่วัดศาลาลอย โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ วัดศาลาลอยเป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดวงษ์ วัดศาลาลอยเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์นาคเจ้าอาวาสวัดศักดิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "จนฺทสโร"

เมื่อท่านอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อนอท่านให้ความสำคัญในด้านวิปัสนากรรมฐานและสนใจศึกษาในพระเวทย์ ตลอดจนวิชาแพทย์แผนโบราณเป็นอย่างยิ่ง ท่านจึงแสวงหาครูบาอาจารย์ในศาสตร์ต่างๆ ทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ เช่น ครูบุญ ครูปุก ครูชุ่ม อาจารย์เพิ่ม หลวงพ่อนาค หลวงพ่ออิ่ม เป็นต้น ผลแห่งความพากเพียรในการศึกษาและฝึกฝนจนชำนาญและจริงจัง ทำให้วัตถุมงคลเครื่องรางของขลังที่ท่านได้สร้างขึ้นนั้นมีพุทธคุณสูงส่งและมีประสบการณ์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งว่ากันว่าเครื่องรางของขลังและวัตถุมงคลของท่าน เวลาท่านปลุกเสกทุกครั้งจะมีการเคลื่อนไหวไปมาได้ราวกับมีชีวิตเลยทีเดียว

เกิด แก่ เจ็บ ตาย ล้วนเป็นสัจธรรม ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลวงพ่อนอนั้นได้ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2521 รวมสิริอายุ 86 ปี พรรษา 63

หลวงพ่อนอวัดกลาง

 เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อนอ วัดกลาง

หมวด: บทความ พระเกจิ
ฮิต: 152