ผู้คิดค้นสิ่งที่ทำให้ยีนส์คงทนทรหดที่สุด!

กางเกงยีนส์ตัวแล้ว ตัวเล่าที่ผ่านการตัดเย็บด้วยผ้าเดนิม ให้กับคนงานเหมืองสวมใส่ทำงาน ในยุค 1853-1871 จริงอยู่ว่าผ้าเดนิมหนาๆ มันเหนียวแน่น เปื่อยขาดได้ยาก และสวมใส่สบายทั้งที่อยู่ในสภาพแห้งและสภาพเปียกชื้น แต่ก็ยังมีจุดอ่อนที่ทำให้กางเกงยีนส์ทุกตัวต้องหมดสภาพการใช้งานก่อนที่ควรจะเป็น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ นายจาคอป เดวิส ช่างตัดเย็บกางเกงยีนส์ ในซานฟรานซิสโก ไม่ได้นิ่งนอนใจกับการตัดเย็บกางเกงยีนส์ของเขา

Mr.Jacob Davis
Mr.Jacob Davis

จาคอป เดวิส และ ลีวายส์ สเตราท์

เช้าวันหนึ่ง ณ ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าเล็กๆ ของนายจาคอป เดวิส ในเมืองซานฟรานซิสโก มีหญิงคนหนึ่งเข้ามาในร้านเพื่อจ้างช่างตัดเย็บกางเกง ให้กับสามีของเธอที่ทำงานเหมือง เนื่องจากว่ากางเกงที่สวมใส่ทำงานประจำนั้นได้ชำรุด เปื่อยขาดไปหมดแล้ว เธออยากให้ นายจาคอป เดวิส ตัดเย็บกางเกงที่ทนทานกว่ากางเกงทั่วๆ ไป ก่อนที่เธอจะมอบเงินค่ามัดจำให้ และเดินกลับไป

นายจาคอป เดวิส พยายามหาผ้าต่างๆ เพื่อจะมาตัดเป็นกางเกงสำหรับลูกค้ารายนี้ จนได้พบกับนายลีวายส์ สเตราส์ ซึ่งเป็นพ่อค้ามาจากเยอรมัน และนำผ้าเดนิม มาจากยุโรป เพื่อมาขายให้กับผู้บุกเบิกทั้งหลาย เมื่อนายจาคอป เดวิส พิจารณาเนื้อผ้าเดนิมแล้ว จึงได้ซื้อผ้าเดนิมจากนายลีวายส์ สเตราส์ และนำไปตัดเป็นกางเกง

 

ผ้าเดนิมนั้น เคยใช้เป็นกางเกงกับพวกกะลาสีเรือในยุโรปมาก่อนแล้ว นายจาคอป เดวิส คิดว่าความแข็งแรงทนทานน่าจะเพียงพอกับคนงานเหมืองอย่างแน่นอน เมื่อนายจาคอป เดวิส ลงมือตัดกางเกงด้วยผ้าเดนิม ก็รู้ได้ทันทีว่ามันไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากผ้าเดนิมมีความหนามาก และเมื่อต้องเพิ่มกระเป๋าประกอบเข้าไปกับตัวกางเกง จุดที่เป็นรอยต่อจะเพิ่มความหนาขึ้นมาอีกจึงทำให้การเย็บนั้นยากลำบาก แต่นายจาคอป เดวิสก็ตัดกางเกงจากผ้าเดนิมสำเร็จ โดยเรียกว่า "ยีนส์" (Jeans) เนื่องจากผ้าเดนิมที่มาจากอิตาลี คนทางยุโรปเรียกกันติดปากว่า "จีน" (Jean)

กางเกงยีนส์ที่นายจาคอป เดวิส เย็บให้กับลูกค้ารายแรก ได้นำไปใช้งานในเหมืองทำให้คนงานเหมืองอีกหลายคนสนใจและไปสั่งตัดกันมากมาย เนื่องจากความทนทานของเนื้อผ้าและใส่สบายป้องกันฝุ่นได้ดี แต่เมื่องทุกคนสวมใส่ไปสักระยะหนึ่ง ก็พบว่ารอยต่อของกระเป๋ากางเกงยีนส์ และเป้าของกางเกงยีนส์จะขาดง่าย เนื่อจากความหนาของรอยต่อ จึงทำให้การเย็บให้ติดแน่นเป็นไปได้ยาก

นายจาคอป เดวิส จึงคิดวิธีการเพื่อที่จะทำให้กางเกงยีนส์ของเขาแข็งแรงไม่ขาดง่าย โดยนายจาคอปสังเกตเห็นอานม้าจะมีหมุดย้ำที่ยึดติดกับหนังเข้าด้วยกัน จึงได้ทดลองเอาหมุดย้ำมาตอกยึดติดเข้ากับกางเกงยีนส์ที่เขาตัดขึ้น โดยใช้หมุดย้ำตอกตามรอยต่อต่างๆ ที่หนาๆ เช่น เป้ากางเกง และมุมกระเป๋ากางเกง

รีเวท กางเกงยีนส์ลีวายส์

แน่นอนมันได้ผล กางเกงยีนส์ที่นายจาคอป เดวิส ตัดเย็บให้กับลูกค้าโดยมีหมุดย้ำ มันแข็งแรงและคงทนอย่างมาก จึงทำให้ร้านตัดเย็บอื่นๆ นำไปใช้บ้าง ยิ่งนานวันเข้า ร้านตัดเย็บอื่นๆ ก็เอาไปเป็นแบบอย่างกันแทบทุกร้าน

นายจาคอป เดวิส คิดว่า รีเวท (Rivets)  สิ่งที่เขาคิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นมานั้นควรจะเป็นทรัพย์สินที่สร้างประโยชน์ให้กับตัวของเขาแต่เพียงผู้เดียว ช่างตัดเย็บคนอื่นๆ ไม่ควรลอกเลียนแบบ ดังนั้นนายจาคอป เดวิส จึงคิดที่จะจดสิทธิบัตร รีเวท ของเขา แต่เนื่องจากเขาเป็นช่างตัดเย็บร้านเล็กๆ ร้านหนึ่งก็ไม่สามารถที่จะหาผลกำไรจาก รีเวท ได้มากมายอะไร เขาจึงตัดสินใจเขียนจดหมายถึงนายลีวายส์ สเตราส์ นักธุรกิจและพ่อค้า ที่ขายผ้าเดนิมให้กับเขา และขอความร่วมมือในการจดสิทธิบัตร รีเวท นี้ด้วยกัน 

Rivet jeans Levi's

แน่นอนครับ พ่อค้าและนักธุรกิจอย่างนายลีวายส์ สเตราส์ มองเห็นช่องทางในการทำกำไรอย่างมากมายมหาศาล เขาจึงตอบตกลงกับนายจาคอป เดวิส และจดสิทธิบัตร รีเวท กางเกงยีนส์ ร่วมกัน ซึ่งรีเวทได้รับการคุ้มครองทางกฏหมาย จึงทำให้ช่างตัดเย็บกางเกงยีนส์ รายอื่นๆ ไม่สามารถนำไปใช้ได้ จนกว่าอายุของสิทธิบัตรจะหมดลงไป ก็เกือบ 20 ปีเลยทีเดียว

และนับจากนั้นเป็นต้นมา กางเกงยีนส์ ยี่ห้อ ลีวายส์ LEVI'S ก็ต้องมีหมุดย้ำติดไว้ทุกตัว