กำเนิด Levi’s 501 ผ้าทราย
ในช่วงระยะเวลาหนึ่งของ กางเกงยีนส์ Levi’s 501 ช่วงเวลาที่หลายคนเคยสัมผัส และหลายคนอยากสัมผัส กับกางเกงยีนส์เนื้อผ้านุ่มๆ หลังจากผ่านการซักด้วยเครื่องและอบแห้ง สีของเนื้อผ้าจะค่อยๆ ซีดจางลงจนเกิดเฟด สีน้ำเงินบลูยีนส์ สลับกับสีขาว เป็นเม็ดละเอียดเล็กๆ นั่นคือที่มาของ “Levi’s 501 ผ้าทราย”
ในปี ค.ศ. 1977-1980 ทาง Levi’s ได้มีการพัฒนาสายการผลิต กางเกงยีนส์ Levi’s 501 อันโด่งดัง และมีการพัฒนากระบวนการทอผ้า จนได้ผ้ายีนส์ลักษณะใหม่ออกมาซึ่งแตกต่างจาก “กางเกงยีนส์ผ้าด้าน” ในยุคแรก
กางเกงยีนส์ Levi’s 501 ที่ผลิตด้วยผ้าชนิดนี้ หากนำไปซักปั่นด้วยเครื่องและอบแห้ง แรกๆนั้น จะเกิดเส้นใยแตกออกมาเป็นเส้นเล็กๆ สีขาวๆ เต็มไปทั่วทั้งตัวกางเกง เหมือนกันกับผ้าด้าน แต่เมื่อซักบ่อยๆ จะทำให้เกิดเฟด สีซีดจางลง และเกิดเป็นรายละเอียดเม็ดสีน้ำเงินบลูยีนส์ ตัดกับสีขาว นวลเนียน มองดูคลายเนื้อของเม็ดทราย เราจึงนิยมเรียกกันติดปากว่า “ผ้าทราย”
จากภาพด้านบน สังเกตุได้ว่า ด้านหลังของกางเกงนั้นจะออกเป็น "เฟด" ลักษณะ "ผ้าทราย" แต่ด้านหน้าของกางเกงก็ เฟด คล้ายๆ กับ "ผ้าด้าน" อยู่เหมือนกันนะครับ
มาดูด้านหลังตรงมุมกระเป๋า ที่เรียกกันว่า "บาร์แท็ก" แต่คนไทยเรียกติดปากว่า "แซ็กดำ" สำหรับ Levi's 501 ที่มีการใช้ด้ายสีดำเย็บมุมกระเป๋าแบบ "ซิกแซ็ก" เหมือนในภาพนี้ เราเรียกันว่า "แซ็กจม" ซึ่งพบได้ใน "Levi's 501 ริมแดง" ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะมาเป็น "แซ็กลอย"
ป้ายธงแดง สัญลักษณ์ Levi's หรือที่เรียกกันว่า "Red Tab" เรดแท็ป ใน "Levi's 501 ผ้าทราย" นั้นเราอาจจะพบได้ทั้ง แบบปักตัวอักษรอย่างในภาพ และแบบใช้สีสกรีน
หมุดย้ำ Rivet ของ "Levi's 501 ผ้าทราย" ด้านในจะเป็นสีขาว อะลูมิเนียม ผิวเรียบ ประทับอักษรย่อ ของบริษัท Levi's ซานฟรานซิสโก
กระดุมเม็ดบน ด้านหลังของ "Levi's 501 ผ้าทราย" พบเห็นได้ทั้งอักษร เลขเบอร์ 6 และเบอร์ 2 (หรือเลขอื่นๆ อีก ผมก็ไม่แน่ใจ)
ป้ายแคร์แท็ก (Care instruction) ระบุรุ่น 501 และการผลิต เดือน 5 ปี 1979 กระดุมหมายเลข 6 คือโรงงานผลิตแห่งหนึ่งในอเมริกา
"Levi's 501 ผ้าทราย" ในช่วงนี้จะเป็น ตะเข็บกางเกงยีนส์ริมแดง ที่หลายคนเฝ้าถวิลหา
หากเราเอากระเป๋าหลัง "Levi's 501 ผ้าทราย" ที่กระดุมตอกหมายเลข ตัวเดียว ไปเทียบกับ กระดุมตอกหมายเลข 3 ตัว ที่ขนาดเอวเท่ากัน ก็จะเห็นได้ว่า หมายเลขกระดุม No.6 ตัวเดียว กระเป๋าจะมี่ขนาดใบใหญ่กว่า No.524 ซึ่งหลายคนที่ได้สวมใส่กระเป๋าหลังใบใหญ่กว่า แน่นอนมันบ่งบอกถึงความ เก๋ากว่า เป็นใหนๆ
ป้ายแคร์แท็ก อีกด้าน ระบุถึงการดูแลทำความสะอาดยีนส์ และการหดตัวของเนื้อผ้า ซึ่งจะขึ้นต้นด้วย Hot wash.-------ลงท้ายด้วย----- 8% (หด 8%)
การเย็บป้ายแคร์แท็กนั้น จะเย็บไว้ตรงโคนขาด้านซ้ายมือ และมีตำแหน่งใกล้กันกับขอบของกางเกง
การเย็บถุงกระเป๋าด้านในของ "Levi's 501 ผ้าทราย" จะใช้ด้ายสีขาว ซึ่งแตกต่างจาก "Levi's 501 ผ้าด้าน" ที่มีอายุมากกว่า ซึ่งจะใช้ด้ายสีน้ำตาลในการเย็บถุงกระเป๋า
ขอบของกระเป๋าหลังกางเกงยีนส์ "Levi's 501 ผ้าทราย" จะเย็บด้วยการเดินจักรแบบลูกโซ่ ต่างจากรุ่นพี่อย่าง "Levi's 501 ผ้าด้าน" ที่จะเย็บแบบ Single ด้ายเดียว
รายละเอียด “Levi’s 501 ผ้าทราย”
- "Levi's 501 ผ้าทราย" ถือกำเนิดใน ปี ค.ศ.1977-1980
- การตัดเย็บยังคงแพทเทิร์น รูปทรงเหมือน “Levi’s 501 ซิงเกิ้ล single”
- ตะเข็บของกางเกงเป็น “ริมแดง”
- หมายเลขที่ตอกบนหลังกระดุม ที่พบเห็นจะเป็น เบอร์ 6 และ เบอร์ 2
- บาร์แท็ก ด้ายสีดำที่เย็บตรงมุมกระเป๋าหลัง เรียกกันติดปากว่า “แซ็กจม”
- ขนาดของกระเป๋าหลัง ถ้าเทียกับกระดุมที่ตอกหมายเลข 3 ตัว ขนาดจะใหญ่กว่า
- ถุงกระเป๋าด้านหน้า จะเย็บด้วยด้ายสีขาว ซึ่ง “Levi’s 501 ซิงเกิ้ล” จะเย็บด้วยด้ายสีน้ำตาล
- Rivet ริเวท หรือ เป๊ก จะเป็นอลูมิเนียม สีขาว ตัวอักษรด้านในจะมีผิดเรียบ
- Care instruction แคร์แท็ก จะเย็บติดไว้ที่โคนขาด้านซ้าย ใกล้ถึงขอบของเอว
- แคร์แท็ก พิมพ์อักษร Hot wash normal cycle color will bleed. Wash and tumble alone. Waist and inseam shrink approx. 8% แปลว่า “รอบการทำความสะอาดแบบปกติสีจะลดลง ทำความสะอาดและซักผ้าเพียงอย่างเดียว รอบเอวและด้านในจะหดตัวประมาณ 8%
- การเย็บด้านในของขอบกระเป๋าหลัง จะใช้จักรเย็บด้ายแบบลูกโซ่ ซึ่ง “Levi’s 501 ซิงเกิ้ล” จะใช้จักรเย็บแบบด้ายมองเห็นเส้นเดี่ยว
- ป้ายธงสีแดง Red Tab จะมีทั้งแบบปักตัวอักษร และแบบใช้สีสกรีน ตัวอักษร
ก็หวังกันว่าบทความ "Levi's 501 ผ้าด้าน" จะมีรายละเอียดให้ท่านผู้อ่านได้รับความรู้เพิ่มเติม และเห็นภาพถ่าย ซึ่งเป็นกางเกงยีนส์ของผมที่มีอยู่ หรือท่านที่มีความรู้มากกว่ารายละเอียดนี้ก็ comment แนะนำกันได้นะครับ เพราะ Levi's 501 ของแท้ๆ ก็มักมีรายละเอียด โผล่มาให้เราเห็น ตื่นเต้นกันเสมอ เนื่องจากการผลิตสมัยก่อนแบบ Hand made ควบคุมและทำการผลิตด้วยคน ซะเป็นส่วนใหญ่