16.การเย็บ วี สติ๊ด (V Stitched) การเดินเส้นด้ายเย็บเป็นรูปตัว V ลักษณะในภาพด้านล่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อเย็บไปทับเส้นด้าย ที่เดินแบบลูกโซ่ตรงขอบกางเกงด้านล่าง เพื่อป้องกันการหลุดรุ่ย ของเส้นด้ายที่เดินแบบ ลูกโซ่ อาจหลุดอากมาโดยบังเอิญ ซึ่งการเย็บลักษณะนี้จะมีอยู่ในกางเกงยีนส์ลีวายปีเก่าๆ หรืองาน รีโปรดักส์ และ LVC
17.หูร้อยเข็มขัด (Belt Loop) เริ่มมีการใช้ตั้งแต่ปี 1944 ที่มีการถอด สายรัดเอว ด้านหลังออกไป ซึ่งในช่วงแรกๆ หูกางเกงที่อยู่ด้านหลังจะไม่ตรงกลาง เนื่องจากไม่สามารถเย็บให้แน่นได้ เพราะเนื้อผ้าจะหนามาก
18.ตะเข็บริมแดงลีวาย (Selvedg) ถือเป็นชิ้นส่วนสำคัญของกางเกงยีนส์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากมาจนทุกวันนี้ การเกิดริมสีขาวและมีเส้นด้ายสีแดงฝังอยู่นั้น เกิดจากเครื่องทอผ้าเดนิม หน้าแคบ และได้มีการเลิกผลิตไปในปี 1983
19.ตะเข็บริมโพ้งลีวาย (Non Selvege) ภายหลังจากเลิกผลิตผ้าหน้าแคบ ริมแดง ในปี 1983 ลีวายก็เริ่มเข้าสู่อุตสาหกรรมการตัดเย็บแบบใหม่ มีการใช้เครื่องทอผ้าหน้ากว้างขึ้น ทำให้ได้จำนวนเนื้อผ้ามากขึ้น ตัดกางเกงจำนวนมากขึ้น หลังจากนี้ไป ทำให้ไม่มีกางเกงยีนส์ ริมแดง ที่ผลิตในอเมริกาอีกต่อไป แต่ด้วยความนิยมกางเกงยีนส์ ริมแดง จึงต้องมีการผลิต ย้อนยุค (Re-Production) กางเกงยีนส์ริมแดงขึ้นในภายหลัง
20.กระเป๋าหลังลีวาย (Back Pockets) เดิม กระเป๋ากางเกงยีนส์ลีวายมีเพียง 4 ใบ และหลายๆ คนคิดว่า กระเป๋าที่ถูกเพิ่มเข้าไปจนครบ 5 ใบอย่างในปัจจุบันนั้น ต้องเป็นกระเป๋าใส่นาฬิกา (Watch Pocket) แน่นอน จริงๆ แล้วไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้อง เพราะกระเป๋าใบที่ 5 ของกางเกงยีนส์ลีวายนั้นคือ กระเป๋าหลังด้านซ้ายมือนั่นเอง ซึ่งมีการเพิ่มเข้าไปในปี 1901
นี่คือ 20 รายการของกางเกงยีนส์ลีวาย ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งจริงๆ แล้วในแต่ละรายการนี้ยังมีรายละเอียดแยกย่อยออกไปอีกมากมาย ซึ่งคุณเองก็คาดไม่ถึงใช่ไหมว่ากางเกงยีนส์มันมีอะไรที่น่าสนใจได้มากขนาดนั้นเชียวหรือ?
JeansZa สนับสนุนให้ทุกคนใส่ยีนส์